ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อก นางสาวภัครมัย อินทิเดช สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คบ3. หมู่2 เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชานวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศทางการศึกษา

หน่วยที่3

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
        การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งนอกเหนือจากปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์  เพราะมนุษย์จำเป็นต้องติดต่อสื่อสารกันอยู่ตลอดเวลา  การสื่อสารมีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นยุคโลกาภิวัตน์ เป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร  การสื่อสารมีประโยชน์ทั้งในแง่บุคคลและสังคม การสื่อสารทำให้คนมีความรู้และโลกทัศน์ที่กว้างขวางขึ้น   การสื่อสารเป็นกระบวนการที่ทำให้สังคม เจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง   ทำให้มนุษย์สามารถสืบทอดพัฒนา เรียนรู้ และรับรู้วัฒนธรรมของตนเองและสังคมได้  การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ  สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าแก่ชุมชน และสังคมในทุกด้าน
ความหมาย  การสื่อสาร
           กระบวนการถ่ายทอดและการแลกเปลี่ยนข่าวสาร  ข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์  ความรู้สึก ความคิดเห็น ความต้องการจากผู้ส่งสารโดยผ่านสื่อต่าง ๆ ที่อาจเป็นการพูด การเขียน สัญลักษณ์อื่นใด การแสดงหรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ไปยังผู้รับสาร ซึ่งอาจจะใช้กระบวนการสื่อสารที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสมระหว่างบุคคลต่อบุคลหรือบุคคลต่อกลุ่มหรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน โดยมีองค์ประกอบดังนี้

องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย                                              
1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
 2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
 3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
 4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
 5. ความเข้าใจและการตอบสนอง
การสื่อสารมีความสำคัญดังนี้
         1.การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกเพศ  ทุกวัย ไม่มีใครที่จะดำรงชีวิตได้ โดยปราศจากการสื่อสาร
        2.การสื่อสารก่อให้เกิดการประสานสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลและสังคม
        3.การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทั้งตัวบุคคลและสังคม
วิธีการการสื่อสาร แบ่งออกได้ 3 วิธี คือ
       1. การสื่อสารด้วยวาจา หรือ "วัจนภาษา" เช่น การพูด การร้องเพลง เป็นต้น
       2 .การสื่อสารที่มิใช่วาจา หรือ "อวัจนภาษา" และการสื่อสารด้วยภาษาเขียน เช่น การสื่อสารด้วยท่าทาง ภาษามือและตัวหนังสือ เป็นต้น
       3 .การสื่อสารด้วยการใช้จักษุสัมผัสหรือการเห็น เช่น การสื่อสารด้วยภาพ โปสเตอร์ สไลด์ เป็นต้น หรือโดยการใช้สัญลักษณ์และเครื่องหมายต่าง ๆ เช่น ลูกศรชี้ทางเดิน เป็นต้น
รูปแบบของการสื่อสาร แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
        1.การสื่อสารทางเดียว  เป็นการส่งข่าวสารหรือการสื่อความหมายไปยังผู้รับแต่เพียงฝ่ายเดียว
        2.การสื่อสารสองทาง   เป็นการสื่อสารหรือการสื่อความหมายที่ผู้รับมีโอกาสตอบสนองมายังผู้ส่งได้ในทันที
ความสำคัญของภาษา
ระดับภาษาแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ
1) ระดับพิธีการ ภาษาระดับนี้ใช้สื่อสารกันในที่ประชุมที่จัดขึ้นอย่างเป็นพิธีการ
2) ระดับทางการ ภาษาระดับนี้มิได้มุ่งหมายที่จะให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม ในการสื่อสารโดยตรง
3) ระดับกึ่งทางการ ภาษาระดับนี้มักใช้ในการปรึกษาหารือกิจธุระระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคล
4) ระดับสนทนา อาจเรียกว่า ระดับลำลอง   ภาษาระดับนี้มักใช้ในการสื่อสารกับเพื่อนสนิท
5) ระดับกันเอง ภาษาระดับนี้จะใช้ในวงจำกัด ใช้ระหว่างบุคคลที่สนิทสนมคุ้นเคยกันมาก ๆ สถานที่ใช้มักเป็นที่ส่วนตัว
อุปสรรคในการสื่อสาร
       อุปสรรคในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่ทำให้การสื่อสารไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ ของผู้สื่อสาร และผู้รับสาร   อุปสรรคในการสื่อสารอาจเกิดขึ้นได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการสื่อสาร

        1.อุปสรรคที่เกิดจากผู้ส่งสาร
         2.อุปสรรคที่เกิดจากสาร
         3.อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากสื่อ หรือช่องทาง
         4.อุปสรรคที่เกิดจากผู้รับสาร
การสื่อสารกับการเรียนการสอน
ความหมาย
        สื่อการเรียนการสอนเป็นตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอนจากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน เป็นผลให้นักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังได้รับการพัฒนาไปตามการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น อุปกรณ์การสอน โสตทัศนูปกรณ์ เทคโนโลยีการศึกษา สื่อการเรียนการสอน สื่อการศึกษาเป็นต้น
องค์ประกอบของการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
1.ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร
2.ผู้รับข่าวสาร หรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร
3. ช่องสัญญาณ
4. การเข้ารหัส
5. การถอดรหัส
6.สัญญาณรบกวน
สื่อการสอน
ประเภทของสื่อการเรียนการสอน
 1. สื่อประเภทวัสดุ
 2. สื่อประเภทอุปกรณ์
3. สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ
 4. สื่อประเภทคอมพิวเตอร์
ความรู้ที่อยู่ในขอบข่ายการเรียนการสอน
1. ความรู้เรื่องพัฒนาการของมนุษย์
2. หลักการของการเรียนรู้และการสอนประกอบด้วย ทฤษฎี การเรียนรู้ชนิดต่างๆ
3. ความแตกต่างระหว่างบุคคลที่มีผลต่อการเรียน
4. การนำเอาหลักการและวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาการเรียนการสอน
การแนะแนวทางการเรียนรู้
       การชี้แนวทางการเรียนรู้หมายถึง การชี้แนะให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้เรียนใหม่ ผสมผสานกับความรู้เก่าที่เคยได้เรียนไปแล้ว เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่รวดเร็วและมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น