ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อก นางสาวภัครมัย อินทิเดช สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คบ3. หมู่2 เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชานวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศทางการศึกษา

หน่วยที่4

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4จิตวิทยาการเรียนการสอน
ความหมาย          จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการทางจิต โดยศึกษาว่าสิ่งเหล่านี้ได้อิทธิพลอย่างไรจากสภาวะทางร่างกาย สภาพจิตใจและสิ่งแวดล้อมภายนอก
แนวทางในการศึกษา
-ศึกษาและสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบในห้องทดลอง
-นำผลการทดลองไปใช้ในสถานการณ์จริงในห้องเรียน
-ค้นหาวิธีการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
-ศึกษาเกี่ยวกับการวัดและการประเมินทางการศึกษา
-ศึกษาพัฒนาการด้านต่างๆของนักเรียน
จิตวิทยากับการเรียนการสอน
                จิตวิทยาการเรียนการสอนเป็นศาสตร์อันมุ่งศึกษาการเรียนรู้และพฤติกรรมของผู้เรียนในสถานการณ์การเรียนการสอน พร้อมทั้งหาวิธีที่ดีที่สุดในการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียน
ความรู้ที่อยู่ในขอบข่ายการเรียนการสอน
                1.  ความรู้เรื่องพัฒนาการมนุษย์
                2.  หลักการของการเรียนรู้และการสอนประกอบด้วยทฤษฎีการเรียนรู้และการเรียนรู้ชนิดต่างๆ
                3.  ความแตกต่างระหว่างบุคคลที่มีผลต่อการเรียน
                4.  การนำเอาหลักการและวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาการเรียนการสอน
จุดมุ่งหมายของการนำจิตวิทยามาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน
ประการแรก   มุ่งพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ในสถานการณ์การเรียนการสอน
ประการที่สอง   นำเอาองค์ความรู้ข้างต้นมาสร้างรูปแบบเชิงปฏิบัติเพื่อครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา  สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน
หลักการสำคัญ
1.  มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน
2.  มีความสามารถในการประยุกต์หลักการจิตวิทยาเพื่อการเรียนการสอน
3.  มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่
4.  มีเจตคติที่ดีต่อผู้เรียน
จิตวิทยาครู
ครู  หมายถึง  ผู้สอน  มาจากภาษาบาลีว่า ครุ
ภาษาสันสกฤตว่า คุรุ” แปลว่า หนัก  สูงใหญ่
 -  ครูต้องรับภารหนักในหน้าที่และความรับผิดชอบ
               -  ครูต้องมีความหนักแน่น  สุขุม  ไม่วู่วาม  ทั้งความคิดและการกระทำ
บทบาทและความสำคัญของครูในปัจจุบัน
ธีรศักดิ์ (2542) ได้กล่าวถึง 4 ประเด็น ดังนี้
บทบาทและความสำคัญต่อเยาวชน
บทบาทและความสำคัญของครูในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
บทบาทและความสำคัญของครูในการรักษาชาติ
บทบาทและความสำคัญของครูในเยียวยาสังคม
รูปแบบของครู (Models of Teachers)
Fenstermacher และ Soltis (1992)ได้กล่าวถึงรูปแบบและบทบาทของครู เป็น 3 ประเภท
The  Executive Model        ทำหน้าที่คล้ายบริหาร  
The Therapist Model       มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนอย่างใกล้ชิด
The  Liberationist  Model       ครูที่ให้อิสระผู้เรียนในการเรียนรู้

                Parsons and others (2001)กล่าวว่าครูควรมีหลายบทบาทตามความเหมาะสมของสภาพการณ์  มิใช่มีความรู้หรือเชี่ยวชาญเฉพาะเนื้อหา  ดังนั้นครูอาจมีบทบาท  ดังนี้
รับผิดชอบการวางแผนการสอนและวัดผล
มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการสอนหรือให้ข้อมูลแก่ผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
ทำหน้าที่ผู้จัดการ  หรือบริหารห้องเรียนให้เหมาะสมกับการเรียนรู้
ให้คำปรึกษา  รับฟังความคิดเห็นแก่ผู้เรียน
บทบาทดังกล่าวนี้มีความสอดคล้องกับแนวคิดของWoolfok และ Nicalich (1980) ที่กล่าวไว้หลายประเด็นและมีคลอบคลุม  ดังนี้
เป็นผู้ชำนาญการสอนเป็นผู้ที่กระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจ
เป็นผู้จัดการเป็นผู้นำ
เป็นผู้ให้คำปรึกษา                              
เป็นวิศวกรสังคม
เป็นตัวแบบ

หลักการที่สำคัญสำหรับครู
                                Mamchak and Mamchak  (1981)  ได้กล่าวถึงขั้นตอนในการสร้างบรรยากาศในห้องเรียนที่เป็นรูปธรรม เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างครูและนักเรียน
ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน
-  ทำให้รู้จักลักษณะนิสัยของผู้เรียน
-  ทำให้เข้าใจพัฒนาการบุคลิกภาพบางอย่างของผู้เรียน
-  ทำให้ครูเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
-  ทำให้ครูทราบว่ามีองค์ประกอบใดบ้างที่มีผลกระทบต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียนเช่น แรงจูงใจ ความคาดหวัง เชาวน์ปัญญา ทัศนคติ ฯลฯ

ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน
-  ทำให้ครูทราบทฤษฎี หลักการเรียนรู้ รวมทั้งหลักการสอนและวิธีการสอน
-  ทำให้ครูวางแผนการสอนได้อย่างเหมาะสม
-  ทำให้ครูจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนได้สอดคล้องกับพัฒนาการ รวมทั้งสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนที่เอื้อต่อการปกครองชั้นเรียน
จุดมุ่งหมายของจิตวิทยา (Aims of Psychology)
          จิตวิทยาเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมภายนอกและพฤติกรรมภายใน โดยมีจุดมุ่งหมายดังต่อไปนี้
          ๑. เพื่อให้ผู้ศึกษาเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมภายนอก หรือพฤติกรรมภายใน ที่เรี่ยกว่า กระบวนการทางจิต  อันจะทำให้เข้าใจตนเองและผู้อื่นได้ดีขึ้น
          ๒. เพื่อให้ผู้ศึกษาสามารถอธิบายพฤติกรรม ทั้งหลายที่เกิดขึ้นได้ว่ามีปัจจัยใดบ้างที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดพฤติกรรมต่าง ๆ โดยนักจิตวิทยาทั้งหลายจะใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการค้นหาคำตอบ เพื่ออธิบายพฤติกรรมทั้งหลายเหล่านั้น
          ๓. เพื่อให้ผู้ศึกษาสามารถทำนายพฤติกรรม หมายถึงการคาดคะแนผลที่จะเกิดขึ้นจากสาเหตุต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง
          ๔. เพื่อให้ผู้ศึกษาสามารถควบคุมพฤติกรรม ที่ไม่พึงประสงค์ให้ลดลงหรือหมดไป และขณะเดียวกันให้สามารถเสริมสร้างพฤติกรรมที่พึงปรารถนาให้เกิดขึ้นใหม่ได้ด้วย
          ๕. เพื่อให้ผู้ศึกษานำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเองและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ของจิตวิทยา
๑.      ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์
๒.     ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจพัฒนาการของมนุษย์
๓.     ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจและรู้พื้นฐานทางสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์
๔.     ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจการรับสัมผัสและการรับรู้
๕.     ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจ
๖.      ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจสิ่งสำคัญที่เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้และการถ่ายโยงการเรียนรู้
๗.     ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจเชาวน์ปัญญาและตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อเชาว์ปัญญาของมนุษย์แต่ละบุคคล
๘.     ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจวิธีการประเมินและวัดบุคลิกภาพได้และแนวทางในการปรับปรุงบุคลิกภาพของตนเอง
๙.   ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจความหมายของสุขภาพจิตและสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพจิต รู้วิธีการบำบัดรักษาผู้มีอาการทางจิตและการส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีให้กับตนเองและผู้อื่น
๑๐. ทำให้ผู้ศึกษามีวิธีในการปรับตัว มีกลวิธานในการป้องกันตนเองและเข้าใจข้อดีและข้อเสียของการให้กลวิธานในการป้องกันตนเอง
๑๑. ทำให้ผู้ศึกษาเกิดการรับรู้พฤติกรรมทางสังคม (Social Perception)         ที่มีต่อพฤติกรรมทางสังคมและนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเองและสังคมได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น